การทดสอบด้วยสารบ่งชี้ High Sensitive Troponin T
ช่วยเปลี่ยนแปลงการตรวจวินิจฉัยและการดูแลรักษาภาวะหัวใจวาย

ข่าว PR Focus

การใช้สารชีวเคมีบ่งชี้ภาวะทางหัวใจและหลอดเลือด ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเป็นโอกาสอันดีที่ปัจจุบันเรามี สารทดสอบ High Sensitive Troponin T ในการวินิจฉัยภาวะหัวใจวายได้ดีขึ้น สารทดสอบตัวใหม่นี้ช่วยให้การวินิจฉัยภาวะหัวใจวายในผู้ที่มีอาการแน่นหน้าอกได้เร็วและมีความไวมากขึ้นในการตรวจพบความเสียหายต่อหัวใจ ถึงแม้ว่าจะเกิดความเสียหายต่อหัวใจเพียงเล็กน้อยก็ตาม

 

จากการสัมมนาที่จัดขึ้นร่วมกันกับงานประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 42 ของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย (Heart Association of Thailand) ในกรุงเทพฯ ปี 2553 ศาสตราจารย์ ฮาร์เวย์ ไวท์ ผู้อำนวยการการวิจัยด้านหัวใจและหลอดเลือด และการรักษาหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาล กรีนเลน ประเทศนิวซีแลนด์ และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบัญญัติกำหนดคำจำกัดความใหม่ของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายในระดับสากล หรือที่ส่วนใหญ่ทราบกันว่าเป็น ภาวะหัวใจวาย โดยได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสารทดสอบ High Sensitive Troponin T ที่สอดคล้องกับคำจำกัดความใหม่ในการวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายนี้

 

ดร. ฮาร์เวย์ ไวท์ ได้กล่าวว่า การใช้สารชีวเคมีที่ไวและเฉพาะเจาะจงต่อหัวใจ เป็นสิ่งสำคัญต่อคำจำกัดความใหม่ในระดับสากลของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย และ cardiac Troponin เป็นสารชีวเคมีที่นิยมใช้กันมากกว่า

 

cardiac Troponins เป็นสารบ่งชี้ถึงการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจได้อย่างดี เนื่องจากมีความเฉพาะเจาะจงต่อหัวใจ และสารบ่งชี้เหล่านี้จะเพิ่มขึ้นในเลือดอย่างรวดเร็วภายหลังเกิดภาวะหัวใจวายและสามารถตรวจพบในกระแสเลือดได้เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งซึ่งช่วยในการวินิจฉัย ถึงแม้ว่าการเพิ่มขึ้นของ cardiac Troponin เพียงเล็กน้อย อาจจะบ่งชี้ถึงการบาดเจ็บของหัวใจได้ แต่ยังจำเป็นต้องตรวจทางคลินิกด้วย และจากมาตรฐานสากลใหม่ได้แนะนำการทดสอบ Troponin ความไวสูง (highly sensitive Troponin) ที่มีความแม่นยำมากในช่วงค่าต่ำ (มีความแปรปรวนน้อยกว่า 10% ณ. ระดับของ Troponin ที่ตรวจวัดได้สูงสุด 99 จาก 100 คนในกลุ่มประชากรที่มีสุขภาพแข็งแรง)

 

การศึกษาแสดงให้เห็นว่า เมื่อใช้คำจำกัดความของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายใหม่ มีผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวายเพิ่มขึ้น 26.1% และการใช้การทดสอบด้วย Troponin ความไวสูง (highly sensitive Troponin) ช่วยให้แพทย์หัวใจระบุว่าผู้ป่วยเป็นภาวะหัวใจวายซึ่งต้องการให้การรักษาในทันที ศาสตราจารย์ ฮาร์เวย์ ไวท์กล่าวว่า หากไม่แล้วผู้ป่วยเหล่านี้จะได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะทางหัวใจแบบอื่น หรือมีภาวะอย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวใจเลย การวินิจฉัยที่ผิดสามารถทำให้เกิดการรักษาและการดูแลภายหลังที่ไม่เหมาะสม

 

ศาสตราจารย์ ฮาร์เวย์ ไวท์ ได้กล่าวอีกว่า การตรวจพบการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจได้เร็วและการวินิจฉัย           ที่ถูกต้องนั้น ช่วยให้ผู้ป่วยห่างไกลจากการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น การประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยสามารถทำได้โดยการตรวจหาระดับ troponin ในการปฏิบัติทางการแพทย์ทุกวัน

 

ก่อนที่จะมีการให้คำจำกัดความในระดับสากลใหม่นั้น วิธีการที่แพทย์จะระบุว่าเป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย (MI) หรือ ภาวะหัวใจวายนั้นมีความหลากหลายมาก นายแพทย์วศิน พุทธารี อายุรแพทย์โรคหัวใจจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้กล่าวถึงคำจำกัดความใหม่และการประยุกต์ใช้แนวทางใหม่นี้ในประเทศไทยว่า การที่มีคำจำกัดความใหม่สำหรับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย MI จะมีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มผู้ที่มีการบาดเจ็บของหัวใจเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยกลุ่มนี้ ณ ปัจจุบันสามารถได้รับการระบุชัดเจนและได้รับการรักษาที่เหมาะสมเนื่องจากสามารถตรวจพบการบาดเจ็บของหัวใจได้โดยการทดสอบด้วย troponin T ที่มีความไวสูง (highly sensitive troponin T) ซึ่งอาจไม่สามารถตรวจพบได้โดยการทดสอบด้วย Troponin ธรรมดาทั่วไป

 

ภาวะหัวใจวายเกิดจากการลดลงอย่างรวดเร็วของปริมาณเลือดและอ๊อกซิเจนที่ไปเลี้ยงหัวใจ มีผลให้เกิดการทำลายของเนื้อเยื่อหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการตายและการทุพพลภาพทั่วโลก ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก พบว่าในแต่ละปีมีประชากรจำนวน 7.2 ล้านคนทั่วโลกตายจากโรคหลอดเลือดแดงเลี้ยงหัวใจอุดตัน ซึ่งภาวะหัวใจวายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการตายดังกล่าว นอกจากนี้ WHO ได้ประมาณว่าในประเทศไทยทุกปีมีการตายจากโรคหัวใจเกือบ 30,000 คน

 

การทดสอบด้วย Troponin T ที่มีความไวสูง (Troponin T high-sensitive) มีความแม่นยำตรงตามคำแนะนำของคำจำกัดความใหม่สุดของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ความถูกต้องและความไวของการทดสอบที่ได้พัฒนาขึ้นเป็นคุณค่าอันยิ่งใหญ่ด้านการพยากรณ์โรคและการวินิจฉัย ไม่เฉพาะสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน แต่รวมถึงผู้ป่วยโรคหัวใจอื่นๆด้วย ความแม่นยำและความไวของการทดสอบนี้จะช่วยทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการขาดเลือดหรือการบาดเจ็บของหัวใจได้รับการระบุว่าเป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายในระยะเริ่มต้น ทำให้ได้รับการรักษาทันเวลาและช่วยให้ผู้ป่วยได้รับผลการรักษาดีขึ้น

 

รายละเอียดเกี่ยวกับ โรช

โรช มีสำนักงานใหญ่ในเมือง บาเซล ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และเป็นผู้นำด้านทางการแพทย์ที่เน้นทางด้านการวิจัย โดยมีจุดแข็งทางด้านยาและการวินิจฉัยโรครวมกัน โรช ยังเป็นบริษัททางด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยยาที่มีความโดดเด่นอย่างชัดเจนในด้าน มะเร็งวิทยา ไวรัสวิทยา การอักเสบ เมตาบอลิซึม และระบบประสาทส่วนกลาง และโรชยังเป็นผู้นำระดับโลกทางด้าน การวินิจฉัยโรคในห้องปฏิบัติการ การวินิจฉัยโรคมะเร็งจากเนื้อเยื่อ และเป็นผู้นำทางด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน กลยุทธ์ของโรช มุ่งเน้นให้การรักษาแบบปัจเจกบุคคล โดยการจัดหาเครื่องมือในการวินิจฉัยและการรักษาด้วยยาที่ช่วยให้สัมผัสได้ถึงการพัฒนาที่ดีขึ้นของสุขภาพ คุณภาพชีวิต และการรอดชีวิตของผู้ป่วย ในปี 2552 โรชมีพนักงานทั่วโลก 80,000 คน และได้ลงทุนเกือบ 10 พันล้านสวิสฟรังซ์ในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.roche.com

     
 
บริษัท พีอาร์ โฟกัส จำกัด
เลขที่ 9/134 หมู่บ้านทองสถิตย์ 9 วิลล่า ถนนวัชรพล แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร 10220

Offfice : 02-654-7551-2 Fax : 02-654-7553 Email : prfocus@truemail.co.th

Copyright©prfocus 2015 , Allright Reserve.