Thailand Headlines จัดเสวนา “บทบาทและความสำคัญของสื่อจีนในประเทศไทย”
พร้อมเปิดตัว 2 รายการ Thailand Coming และ Thailand Headlines online
ไทยเจียระไน กรุ๊ป เชิญผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อและวัฒนธรรมไทย-จีน เปิดประเด็นเสวนา “บทบาทและความสำคัญของสื่อจีนในประเทศไทย” พร้อมเปิดสื่อจีน 2 รายการ คือ Thailand Coming และ Thailand Headlines Online สนองความต้องการเข้าถึงสื่อระหว่างประเทศ ไทย – จีน เชื่อมสะพานการค้า และ ความสัมพันธ์อันดี เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
นางสาวหลุ่ย แซ่กั๊ว ประธาน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยเจียระไนกรุ๊ป จำกัด และ บรรณาธิการ สำนักข่าว Thailand Headlines กล่าวว่า “ สำนักข่าวภาษาจีน Thailand Headlines (ไทยแลนด์เฮดไลน์) หรือ ไท่กั๋วโถวเถียวซินเหวิน นับเป็นสื่อภาษาจีนที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายของชาวจีนผู้ติดตามทั่วโลก โดยมาตรฐานในการรายงานข่าวบนความถูกต้อง รวดเร็ว และตรงประเด็น อีกทั้ง ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ซึ่งมียอดติดตามข่าวสำคัญของไทยบ่อยครั้งทะลุเป็นหลายสิบล้านวิว อาทิ ข่าวการเลือกตั้ง 62 มียอดชมกว่า 20 ล้านวิว, ข่าวพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ยอดชมกว่า 24.4 ล้านวิว และ ข่าวเรือล่มในจังหวัดภูเก็ต มียอดชมกว่า 27.7 ล้านวิว เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการช่องทางเผยแพร่ข่าวสาร ไทย- จีน ที่มีเพิ่มมากขึ้น จึงเปิดสื่อออนไลน์ 2 รายการใหม่ คือ Thailand Coming และ Thailand Headlines Online ซึ่งมั่นใจว่าจะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
ปัจจุบัน สื่อออนไลน์มีบทบาทต่อวิถีชีวิตคนมากขึ้น โดยทั้ง “สื่อออนไลน์” และ “โซเชี่ยลมีเดีย” มีอิทธิพลอย่างมากต่อการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ เพื่อส่งเสริมการค้าขายและสนับสนุนเศรษฐกิจให้เข็มแข็งอย่างรวดเร็ว อย่างเช่น ประเทศจีน มีระบบโทรคมนาคมที่ดี มีเครือข่ายโทรศัพท์ครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ ประชากรสามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ได้ง่าย ส่งผลให้การเข้าถึงสื่อออนไลน์และโซเชี่ยลมีเดียของจีน มีความนิยมอย่างแพร่หลาย แม้ว่า Facebook และ Twitter จะถูกบล็อก แต่จีนก็มี WeiBo WeChat และแพลตฟอร์มข่าวสารอีกหลายแพลตฟอร์ม ในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การสื่อสารข่าวสารต่างๆ ระหว่างชาวไทย และ ชาวจีน ที่มีความสัมพันธ์มานาน ส่งผลให้สื่อจีนในประเทศไทย โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ มีอิทธิพลต่อการเผยแพร่ข่าวสารให้แพร่กระจายออกไปได้อย่างรวดเร็ว จากการจัดงานเสวนา “บทบาทและความสำคัญของสื่อจีนในประเทศไทย” ครั้งนี้ ได้แลกเปลี่ยนมุมมอของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในความสัมพันธ์ไทย-จีน ได้แก่ คุณวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, คุณวิบูลย์ คูสกุลอดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน และ คุณชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะ นายกสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน และ บก.อาวุโส หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ซึ่งต่างก็มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันถึงความสำคัญของสือจีนในประเทศไทย ที่มีบทบาทต่อการสร้างความสัมพันธ์และการค้าอย่างมาก
นางสาวหลุ่ย กล่าวเพิ่มเติมว่า “วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสำนักข่าวภาษาจีน Thailand Headlines ในไทยมีอยู่ 4 ประการ
1. ให้ชาวจีนในไทยรวมทั้งนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาถึงประเทศไทย ได้รับรู้ข่าวสารแบบแท้จริง ทันเหตุการณ์ ที่กำลังเกิดขึ้นในพื้นแผ่นดินนี้ที่ตนอาศัยอยู่หรือที่ตนกำลังท่องเที่ยวอยู่
2. ให้เสียงความคิดของชาวจีน และนักท่องเที่ยวจีนในไทยได้รับรู้โดยสังคมไทยแบบไม่ถูกเบี่ยงเบน หรือมีอคติ ปรับความเข้าใจซึ่งกันและกัน แก้ไขข้อมูลที่อาจทำให้ชาวไทยไม่เข้าใจชาวจีน จนเกิดความแตกแยก
3. ช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้ชาวจีนหรือนักท่องเที่ยวจีนในไทยที่ประสบปัญหา หรือได้รับการกระทำที่ไม่เป็นธรรม
4. เผยแพร่ด้านที่ดีงาม ทันสมัย ของประเทศไทยให้กับชาวจีนทั่วโลก สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย แก้ไขข่าวเท็จหรือข้อมูลที่ไม่เป็นผลดีต่อประเทศไทย ส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของประเทศไทย และปัจจุบันนี้ สำนักข่าวภาษาจีน Thailand Headlines มียอดผู้ติดตามทะลุ 1 ล้าน 5 แสน คนทั่วโลก และได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 100 ของสื่อออนไลน์ภาษาจีนทั่วโลก ที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยการจัดอันดับประเมินของ China News Service (CNS) ร่วมกับคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยการสื่อสารแห่งประเทศจีน ซึ่งจัดอันดับเฉพาะสื่อภาษาจีนจากทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งคัดเลือกสื่อภาษาจีนทั่วโลกกว่าร้อยสำนักในทุกพื้นที่ ทั้งฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวันและต่างประเทศอื่นๆ โดยกำหนดขอบข่ายของการคัดเลือกคือ การเติบโตของสื่อและแนวโน้มในอนาคต มาตรฐานการเติบโตของสื่อ พัฒนาการต่างๆจากสื่อแนวเดิมเป็นสื่อแนวใหม่ ซึ่งประเด็นหลักในการคัดเลือกคือ สื่อที่เน้นการประยุกต์และบูรณาการให้เข้ากับยุคสมัยและเหตุการณ์ในปัจจุบันได้ดีที่สุด ทั้งนี้คำนึงถึงความแตกต่างของสื่อในแต่ละพื้นที่ด้วย
รายการ Thailand Coming รายการวาไรตี้ นำเสนอกระแสฮอตและเทรนด์ฮิตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้าน วัฒนธรรมไทย การท่องเที่ยว ไลฟ์สไตล์ ทริคการใช้ชีวิตในเมืองไทย รวมไปถึงข่าวสารในวงการบันเทิงไทย เป็นต้น เริ่มออนแอร์ในเดือนกันยายน ปี 2017 ที่ผ่านมา ได้รับการออนแอร์ไปแล้ว 3 ซีซั่น โดยแต่ละตอนมียอดชมกว่า 3 ล้านวิว ทั้งนี้ Thailand Coming ออนแอร์สัปดาห์ละ 1-2 ตอน โดยมีช่องทางออนแอร์ผ่าน WeiBo, Tencent, Wechat, IQIYI, Youtube และ Bilibili
รายการ Thailand Headlines Online นับเป็นรายการข่าวออนไลน์ภาษาจีนรายการแรกในประเทศไทย โดยจะออนแอร์ตอนละ 15 นาที ผ่านช่องทางแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งหมดกว่า 10 ช่องทาง ได้แก่
• WeiBo 泰国头条新闻Thailand Headlines
• WeChat泰国头条新闻Thailand Headlines
• https://www.thaiheadlines.com/
• https://www.facebook.com/ThailandHeadlines/
• https://www.instagram.com/thailandtgttxw/
• https://twitter.com/thaiheadlines
• https://so.ifeng.com/?q=%E6%B3%B0%E5%9B%BD%E5%A4%B4%E6%9D%A1%E6%96%B0%E9%97%BB&c=1
• https://www.toutiao.com/
• http://www.chinanews.com/
• https://om.qq.com
จากฐานผู้ติดตามของสำนักข่าว Thailand Headlines ที่มีมากกว่า 1 ล้าน 5 แสนคนทั่วโลก มั่นใจว่า จะส่งผลให้ Thailand Headlines กลายเป็นสำนักข่าวภาษาจีนยอดนิยมของชาวจีน ยิ่งไปกว่านั้น เทคโนโลยียุค 5G ที่กำลังจะก้าวเข้ามา จะยิ่งทวีความต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นไปอีก ดังนั้น Thailand Headlines จึงต้องการตอบสนองไลฟ์สไตล์ต่าง โดยมุ่งเน้นการเผยแพร่ข่าวสารประเด็นร้อนในสังคมไทย บนพื้นฐานของความถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว และเป็นกลางอีกทั้งเป็นสื่อกลางในการเชื่อมสัมพันธ์ไทยจีนที่มีคุณภาพ อีกด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น ในฐานะสื่อภาษาจีนออนไลน์ที่ทรงอิทธิพลที่สุดในประเทศไทย Thailand Headlines ทำหน้าเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ไทยจีน และเป็นสื่อกลางในการแก้ไขความขัดแย้งในสังคมออนไลน์ระหว่างไทย-จีน ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงชาวจีนและไทย อีกทั้ง ทำหน้ารับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการส่งเสริมวัฒนธรรมไทย-จีน โดยเฉพาะพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันขงจื้อ สถาบันสอนภาษาจีนหลักของจีนในประเทศไทย รวมถึงมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีการเปิดสอนหลักสูตรภาษาจีน ภายใต้ กิจกรรมสานสัมพันธ์ในรั้วโรงเรียน”นางสาวหลุ่ย กล่าวในที่สุด