กสอ. ผลักดันกลุ่มธุรกิจ SMEs

มุ่งเสริมศักยภาพการแข่งขัน ในโลกดิจิทัลด้วย e-learning

ข่าว PR Focus

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เดินหน้าจัดกิจกรรม DIP e-learning for e-commerce หลักสูตร e-commerce ในระบบ e-learning หวังเพิ่มองค์ความรู้และสร้างความเข้มแข็งให้ SMEs แข่งขันได้ในยุคดิจิทัล ชี้ที่ผ่านมาการส่งเสริมด้วยรูปแบบเดิมไม่ทันใจต้องปรับใหม่เป็นเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เน้นผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม และ 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ มั่นใจด้วยกิจกรรมนี้จะช่วยให้ร้อยละ 10 ของผู้จบการอบรมจำนวน 100 ราย สามารถนำความรู้ที่ได้ไปช่วยในการเพิ่มยอดขายไม่น้อยกว่า 10 %
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของทุกคนอย่างเห็นได้ชัด และยังเข้ามามีบทบาทในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคให้เปลี่ยนไปหันมาให้ความสนใจกับตลาดออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากมีความสะดวกสบาย ทำให้ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อให้ตอบรับกับความต้องการดังกล่าว โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการทำตลาดแนวใหม่ หันมาใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) เป็นเครื่องมือในการเพิ่มศักยภาพทางการตลาด ให้สอดคล้องและทันต่อการแข่งขันของตลาดโลกกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป
กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์  ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DIP e-learning for e-commerce) ขึ้นเพื่อเพื่อเปิดโอกาสในการเข้าถึง  องค์ความรู้ที่จำเป็นต่อเพิ่มยอดขายด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้กับ SMEs ด้วยการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ตรงในการดำเนินธุรกิจด้าน e-commerce โดยผ่านระบบ e-learning ที่มีระบบการเรียนรู้ที่พัฒนาแล้วผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ไปวงกว้างมากขึ้น มุ่งเน้น SMEs ในภาคการค้า หรือภาคบริการ หรือภาคอุตสาหกรรม โดยครอบคลุมทุกสาขาอุตสาหกรรมรวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม และ 5 อุตสาหกรรมอนาคต  (New S-curve)
โดยตั้งเป้าหมายที่จะมีจำนวนผู้ผ่านการเรียนรู้ “ผู้จบการอบรม” ในกลุ่มเป้าหมาย จำนวนไม่น้อยกว่า 100 ราย และผู้เข้าเรียนในระบบออนไลน์ ผ่านระบบเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์และจบการอบรม สามารถผ่านการทดสอบการวัดองค์ความรู้ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยร้อยละ 10 ของผู้จบการอบรมจำนวน 100 ราย สามารถนำความรู้ที่ได้ไปช่วยในการเพิ่มยอดขายไม่น้อยกว่า 10 % และผู้เข้าร่วมเรียนรู้ผ่านระบบ e-learning ประเมินความพึงพอใจโดยรวมได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ส่วนที่ปรึกษาประมวลผลข้อมูลผู้เข้าร่วมเรียนรู้ด้วยแบบประเมิน (Self-Assessment) ที่สามารถนำผลที่ได้มาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ต่อไป
"ที่ผ่านมากรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ดำเนินการจัดกิจกรรม เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เพิ่มศักยภาพทางการตลาดผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแต่ละปีสามารถฝึกอบรมให้ SMEs ไม่น้อยกว่า 5,000 คนต่อปี แต่ยังนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวน SMEs ไทย ทั้งภาคการค้า บริการและการผลิตที่มีอยู่กว่า 3 ล้านคน จึงจำเป็นต้องหาเครื่องมือ ที่จะช่วยให้ SMEs สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ในจำนวนมีมากขึ้น ซึ่งเชื่อระบบดังกล่าวจะช่วยเพิ่มจำนวน SMEs ให้มากขึ้น ในการเข้าถึงองค์ความรู้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งช่วยให้เพิ่มศักยภาพทางการตลาดได้เพิ่มมากขึ้นด้วย" นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ กล่าวและเพิ่มเติมว่า
“ระบบ e-learning ดังกล่าวจะเป็นเสมือนศูนย์กลางการเรียนรู้อย่างเป็นระบบของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงยังสามารถสร้างและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมายที่เป็นระบบทันสมัย และมีมาตรฐานการยอมรับในระดับสากล โดยมีเนื้อหาครอบคลุมองค์ความรู้ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการตลาด พร้อมกับพัฒนาสื่อความรู้ให้มีความทันสมัย มีเนื้อหาข้อมูลและองค์ความรู้ที่สอดคล้อง โดยอาศัยเทคโนโลยีของเว็บในการถ่ายทอดเนื้อหา ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสการให้บริการความรู้ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการตลาดของ SMEs ในรูปแบบการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

ในส่วนของกลุ่มเป้าหมายนั้น จะเน้นกลุ่ม SMEs ในภาคการค้า หรือภาคบริการ หรือ ภาคอุตสาหกรรม   โดยครอบคลุมทุกสาขาอุตสาหกรรมรวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม ได้แก่ 1.อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) 2.อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) 3.อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism) 4.อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology) และ 5.อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future) ยิ่งไปกว่านั้น จะให้ความสำคัญกับ 5 อุตสาหกรรมอนาคต  (New S-curve) ประกอบด้วย 1.หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotics) 2.อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) 3.อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals) 4.อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital) และ 5.อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยการเร่งผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการและธุรกิจรูปแบบใหม่อย่างจริงจัง รวมทั้ง สร้างโอกาสและส่งเสริมกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อผลักดันให้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจ อันจะส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่อไป สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจ DIP e-learning for e-commerce หลักสูตร e-commerce ในระบบ e-learning สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (กส.) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 023678201-4 หรือคลิกไปที่เว็บไซด์  
www.dip.go.th

 

News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
         
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
         
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
         
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
         
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
         
News PRfocus
     
 
บริษัท พีอาร์ โฟกัส จำกัด
เลขที่ 9/134 หมู่บ้านทองสถิตย์ 9 วิลล่า ถนนวัชรพล แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร 10220

Offfice : 02-654-7551-2 Fax : 02-654-7553 Email : prfocus@truemail.co.th

Copyright©prfocus 2015 , Allright Reserve.