ZTE เผยประสบการณ์ และแพลตฟอร์ม 5G+
สำหรับนิคมอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาสู่ “โรงงานอัจฉริยะ”
ZTE Corporation ผู้ให้บริการโซลูชั่นระดับโลกในด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคม และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่สำหรับลูกค้าองค์กรและผู้บริโภค จับมือ AIS ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่และเทคโนโลยีดิจิทัลรายใหญ่ของไทย ในโอกาสทำงานร่วมงานกันมานานกว่า 15 ปี โดยจัดเสวนาแบ่งปันประสบการณ์ เทคโนโลยี 5G และ แพลตฟอร์มบริการจัดการโรงงานอัจฉริยะ เพื่อการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
นายจาง เจียนเผิง รองประธานอาวุโส ฝ่ายการตลาดระดับโลก บริษัท แซดทีอี คอร์ปอเรชัน กล่าวว่า “จากรายงานของสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) ระบุว่า ภายในปี 2025 เทคโนโลยี 5G จะมีส่วนสัดสูงถึง 14% ของตลาดการสื่อสารเชื่อมต่อทั้งหมด ในขณะเดียวกัน ข้อมูลยังบ่งชี้ว่าส่วนแบ่งการเชื่อมต่อในประเทศไทย จะเพิ่มขึ้นจนสูงได้ถึง 23% โดยสูงกว่าส่วนแบ่งเฉลี่ยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศระยะ 20 ปีของรัฐบาลไทย ทั้งนี้ ZTE มองว่าการปรับปรุงเครือข่าย 5G และส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง จะบรรลุเป้าหมายในการเติบโตตามแผนได้อย่างแน่นอน
สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี 5 G ในประเทศจีน จะเห็นว่าอุตสาหกรรมการผลิต กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัลอย่างรวดเร็ว โดยในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี ZTE ได้ดำเนินการพัฒนาแนะนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ใน 15 อุตสาหกรรมในประเทศจีน อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, อุตสาหกรรมโลหการทำเหมือง, อุตสาหกรรมโครงข่ายระบบไฟฟ้า, อุตสาหกรรมการขนส่ง, อุตสาหกรรมการท่าเรือ รวมไปถึงอุตสาหกรรมสื่อยุคใหม่ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งนี้ การพัฒนาเทคโนโลยี 5 G เพื่อให้ตอบสนองการทำงานของอุตสาหกรรม พบว่า อุตสาหกรรมต่าง ๆ มักประสบกับปัญหาในการดำเนินการ คือ ดีมานด์ ในการใช้งานเทคโนโลยี 5G ของแต่ละอุตสาหกรรม มีความต้องการที่แตกต่างกันอย่างมาก ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ในช่วงต้นต่ำ และพบว่า บางกรณี มีต้นทุนที่สูง แต่ให้ผลลัพธ์ในด้านผลผลิตที่ไม่ชัดเจน การประสานความร่วมมือระหว่างแต่ละอุตสาหกรรมมีความยากลำบาก โดยการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล (digital transformation) ขององค์กรต้นน้ำและปลายน้ำ มีระดับการพัฒนาที่แตกต่างกัน
จากปัญหาที่พบเหล่านี้ ZTE ให้ความตระหนักและได้คิดค้นวิธีการที่จะส่งเสริมการเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัลในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยการรวมโครงสร้างพื้นฐานของ 5G เข้าด้วยกัน และจัดหาโมดูลส่วนประกอบที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมุ่งเน้นไปที่สภาพการณ์ของแต่ละอุตสาหกรรม เพื่อที่จะพัฒนาให้เกิดการทำงานได้อย่างมีคุณภาพสูงสุด โดยมีตัวอย่างการประยุกต์ใช้ 5G ในโรงงานที่พบได้บ่อย คือการใช้ Multi-Access Edge Computing (MEC) ร่วมกับวิสัยทัศน์ของเครื่องจักร หรือแมชชีนวิชั่น (machine vision) ในการตรวจสอบคุณภาพการผลิตและสถานะการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ทดแทนการปฏิบัติงานด้วยมนุษย์ ซึ่งต้องจ่ายค่าแรงและมีความผิดพลาดสูงกว่า การใช้งานแมชชีนวิชั่นทำให้อัตราปล่อยผ่านของเสีย (defect leakage) ลดลง 80% เมื่อเทียบกับการตรวจสอบโดยมนุษย์ ความแม่นยำของระบบแยกแยะและติดฉลากอัตโนมัติเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 97% ซึ่งทำให้สามารถประหยัดค่าจ้างบุคลากร QC ได้ 50% และเพิ่มอัตราการได้ผลผลิต (production yield rate) ในขณะที่การใช้งานวิสัยทัศน์เครื่องจักรที่โรงงานของกลุ่ม Xinfengming ทำให้อัตราของเสีย (defect rate) ลดลง 60%
การใช้ระบบรถเคลื่อนย้ายอัตโนมัติ (AGV) สำหรับงานอุตสาหกรรมของ ZTE ร่วมกับ 5G ทำให้อุปสรรคเดิม ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ wifi หมดไป โดยรถ AGV ชนิดนี้สามารถนำไปใช้งานในสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรมที่ต่างกันไป เช่นในสภาพแสงซับซ้อน และทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการนำ AGV ออกใช้งานไปได้ 80% (deployment cost) เมื่อเทียบกับการใช้ระบบนำทางแบบดั้งเดิมเช่น QR code หรือแถบแม่เหล็ก และการบริหารกำหนดการ (scheduling) ของ AGV ผ่านแพลตฟอร์มแบบ cloud ช่วยให้ประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์เพิ่มขึ้น 20% ในขณะที่ค่าใช้จ่ายต่อ AGV หนึ่งคันลดลง 10%
การใช้ 5G พร้อมกับ HD video และ Augmented Reality (AR) ช่วยให้บุคลากรด่านหน้าสามารถปฏิบัติหน้าที่ โดยได้รับการสนับสนุนทันทีจากทีมต่าง ๆ ซึ่งไม่ได้อยู่หน้าไซต์งาน และยังเป็นการเปิดประตูสู่ประสบการณ์ใหม่ๆ ในด้านการออกแบบ การผลิต การฝึกอบรม การซ่อมบำรุง และการตรวจสอบ โดยพบว่าการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระยะไกล (remote technology) ทำให้ลดความต้องการทรัพยากรด้านผู้เชี่ยวชาญไปได้เกิน 30% ทั้งยังเป็นการลดความยากในการประสานการทำงานระหว่างสถานที่ต่าง ๆ และยังพบว่าการใช้หุ่นลาดตระเวนแบบ 5G (5G unmanned patrol robot) หนึ่งตัว สามารถทดแทนทรัพยากรมนุษย์ด้านการรักษาความปลอดภัยได้ 3-4 คน โดยหุ่นยนต์สามารถส่งภาพ 360 องศารอบทิศทาง ในระดับความชัด 4K และหลบหลีกสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ได้เอง
ZTE ได้มีการทดสอบใช้ PLC แบบ cloud (Cloud Programmable Logic Control) สำหรับระบบควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมโดยพบว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของ PLC และลดความหน่วงของการควบคุม (control latency) ได้ต่ำถึง 10 ms โดยระบบควบคุมโรงงานที่กล่าวนี้ได้ถูกใช้งานที่โรงงานอัจฉริยะของ ZTE เอง ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหนานจิง มลฑลเจียงซู การใช้งานนวัตกรรมอัจฉริยะต่าง ๆ ในโรงงาน Binjiang Smart Factory ทำให้ความต้องการแรงงานด้านการผลิตต่ำกว่าโรงงานอื่นๆ 25%
นอกจากนี้ โรงงาน Yunnan Shenhuo 5G Smart Factory ในมลฑลยูนนาน ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่าง ZTE และบริษัทผู้ผลิตอะลูมิเนียมรายใหญ่ Yunnan Shenhuo มีการใช้งานระบบ 5G Campus Private Network และ MEC ในการควบคุมการดำเนินการด้านต่าง ๆ โดยมีการใช้แมชชีนวิชั่นทดแทนการใช้เซนเซอร์อุณหภูมิดั้งเดิม เพื่อการตรวจสภาพเหล็กที่อุณหภูมิ 1400 องศาเซลเซียส ซึ่งอุปกรณ์เซนเซอร์ที่ใช้อยู่เดิมสามารถทนอุณหภูมิที่สูงโต่งได้เพียงหนึ่งสัปดาห์ก่อนจะหมดอายุใช้งาน และจำเป็นต้องใช้มนุษย์ช่วยแยกแยะสีบนพื้นผิวเพื่อบ่งชี้อุณหภูมิ ซึ่งความผิดพลาดในการแยกแยะสามารถเกิดขึ้นได้ในประการหลังนี้ และยังมีการใช้แมชชีนวิชั่นในการเฝ้าระวังสายพานการผลิตถึง 11 จุดด้วยกัน ZTE ได้ร่วมมือกับAIS ในการวางระบบโซลูชั่น NodeEngine ที่โรงงานยาวาต้า จังหวัดนครราชสีมา ในการใช้งาน offloading และการคำนวณแบบ edge computing ในโรงงาน ผลที่ได้พบว่า ระบบดังกล่าวนั้นเหมาะสมกับโรงงานยาวาต้าเป็นอย่างมาก โดยความหน่วงวัดได้เพียง 10 ms เท่านั้นซึ่งตอบรับโจทย์เรื่องข้อกำหนดในการประมวลผลข้อมูลในพื้นที่ได้อย่างดี