ตรวจระดับสารโทรโปนิน

วินิจฉัยเร็วช่วยชีวิตผู้มี ภาวะหัวใจวาย

ข่าว PR Focus

นายแพทย์วศิน พุทธารี

อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

 

            ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า ภาวะหัวใจวาย เกิดจากการลดลงอย่างรวดเร็วของปริมาณเลือดและออกซิเจนที่ไปเลี้ยงหัวใจ ซึ่งเรียกกันว่า ภาวะหัวใจขาดเลือดขาดเลือด เนื่องจากมีการอุดตันของการไหลเวียนเลือดสู่กล้ามเนื้อหัวใจ มีผลให้เกิดการทำลายของเนื้อเยื่อหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตและการทุพพลภาพของประชากรทั่วโลก โดยมีรายงานจากองค์การอนามัยโลก พบว่า แต่ละปีมีประชากร จำนวนกว่า 7.2 ล้านคนทั่วโลก และในประเทศไทยมีการเสียชีวิตจากโรคหัวใจประมาณแล้วเกือบ 30,000 คนต่อปี เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดแดงเลี้ยงหัวใจอุดตัน โดยภาวะหัวใจวายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเสียชีวิต ซึ่งจะเกิดขึ้นในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อายุเฉลี่ยตั้งแต่ 50-60 ปีขึ้นไป ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะยิ่งมีโอกาสเป็นมากขึ้น หากแต่ ปัจจุบันพบว่าการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจวาย นี้เกิดขึ้นกับคนที่อายุน้อยมากขึ้นตามลำดับ

 

            ทำให้แนวทางในการวินิจฉัยและรักษา มีวิวัฒนาการให้สามารถตรวจได้เร็ว ด้วยการใช้ใช้สารชีวเคมีบ่งชี้ภาวะที่มีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ อันเป็นสารที่ถูกหลั่งออกมาในกระแสเลือดเมื่อหัวใจเกิดการบาดเจ็บ ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง การตรวจวัดระดับของสารชีวเคมีเหล่านี้ ก็เพื่อช่วยในการตรวจหา วินิจฉัย ประเมินผล และติดตามผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีภาวะที่มีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ โดยขณะนี้ ได้มีการคิดค้นสารทดสอบ ไฮ เซนซิทีฟ โทรโปนิน ที (High Sensitive Troponin T) ซึ่งเป็นการทดสอบ โทรโปนิน ที     ความไวสูง (Troponin T  highly-sensitive) /โทรโปนิน ความไวสูง ( highly sensitive Troponin) ในการวินิจฉัยภาวะหัวใจวายที่ช่วยให้ตรวจพบและวินิจฉัยได้เร็วขึ้น ทั้งนี้ การวินิจฉัยว่าคนไข้เป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือภาวะหัวใจวายนั้น ก็ต่อเมื่อตรวจพบระดับของสารโทรโปนินจากหัวใจ เนื่องจากโทรโปนิน เป็น ส่วนประกอบของโปรตีนที่ควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ และจะถูกหลั่งออกมาในกระแสเลือดเมื่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย

 

แม้ว่าจะมีการใช้การตรวจหาสารบ่งชี้ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายมานานแล้ว หากแต่ที่ใช้กันอยู่ยังมีความแม่นยำไม่เพียงพอต่อการตรวจหาความเข้มข้นของสารโทนโปนินในกระแสเลือด ตามที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่ามาตรฐานสากลใหม่   โดยจะมีค่าความแปรปรวนน้อยกว่า 10 เปอร์เซนต์     ณ ระดับของ โทรโปนิน ที่ตรวจวัดได้สูงสุด 99 จาก 100 คนในกลุ่มประชากรที่มีสุขภาพแข็งแรง   

 

สำหรับ การทดสอบทำได้โดยเจาะเลือดมาตรวจ ผ่านกระบวนการทดสอบด้วย โทรโปนิน ที ความไวสูง ในห้องแล็ป ใช้เวลาประมาณ 20 นาที แต่ถ้ารวมขั้นการตรวจทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณครึ่งชั่วโมงถึง 1 ชั่วโมง     ซึ่งห้องแล็ปจะส่งผลกลับมาว่าได้ค่าเท่าไร สำหรับ โทรโปนิน ความไวสูง นั้น ไม่ได้ถือว่าเป็นวิวัฒนาการใหม่ แต่เป็นการพัฒนาจากเดิมให้สามารถให้ค่าออกมามีความแม่นยำตามที่ผู้เชี่ยวชาญต้องการให้เป็น คือ ไม่ว่าจะใช้ทดสอบกี่ครั้งค่าที่ได้นั้นจะคงที่  โดยในการวินิจฉัย คือ ถ้าได้ค่าต่ำกว่าที่กำหนดไว้ ถือว่าไม่มีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจเลย แต่ถ้าค่าออกมาสูงกว่าค่าที่กำหนดไว้ แสดงว่า มีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจเกิดขึ้น

 

การทดสอบด้วยวิธีนี้ จะสามารถพยากรณ์คนไข้ได้ว่า อยู่ในภาวะใด  การวินิจฉัยของแพทย์จะไม่อาศัยการทดสอบนี้เพียงอย่างเดียว แต่จะรวบรวมหลักฐานอื่นประกอบด้วย เช่น อาการของคนไข้ กราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ร่วมด้วย  คนไข้บางส่วนอาจจะขาดเลือดเฉยๆ แต่กล้ามเนื้อหัวใจไม่มีความเสียหายหรือไม่ตาย แต่คนไข้ส่วนหนึ่งที่ขาดเลือดอย่างรุนแรงจนกระทั่งกล้ามเนื้อหัวใจมีความเสียหายหรือตาย โดยกล้ามเนื้อหัวใจที่เสียหายจะมีความเสียหายในระดับที่ต่างกัน คือ อาจจะตายเพียงไม่กี่เซลล์ จนกระทั่งตายหลายกรัม

 

 การวินิจฉัยของแพทย์ มีความจำเป็นต้องรู้ให้ได้ว่ามีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจหรือไม่ เนื่องจากมีการรักษาที่ต่างกัน คนไข้ซึ่งขาดเลือดฉับพลัน แต่ว่าไม่มีการเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ จะได้รับการรักษาแบบหนึ่ง ส่วนคนไข้ที่ขาดเลือดฉับพลันเหมือนกันแต่รุนแรงกว่าและมีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ ก็จะได้รับการรักษาอีกแบบหนึ่ง  การทดสอบที่แม่นยำจะทำให้รู้ผลที่ถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้แพทย์สามารถเลือกการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมได้เร็วขึ้นด้วยเช่นกัน

 

             การทดสอบ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ด้วยการตรวจระดับสารโทรโปนิน เพื่อวินิจแยให้เร็วและแม่นยำตามค่ามาตรฐานสากลที่กำหนด ถือเป็นวิวัฒนาการทางการแพทย์อีกรูปแบบหนึ่ง ที่นำมาซึ่งการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อย่างไรก็ตาม แพทย์ควรศึกษารายละเอียดถึงวิธีใช้ที่เหมาะสมและถูกต้อง ก่อนจะนำไปใช้จริง เพื่อจะได้ช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันเวลา

 

News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
         
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
     
 
บริษัท พีอาร์ โฟกัส จำกัด
เลขที่ 9/134 หมู่บ้านทองสถิตย์ 9 วิลล่า ถนนวัชรพล แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร 10220

Offfice : 02-654-7551-2 Fax : 02-654-7553 Email : prfocus@truemail.co.th

Copyright©prfocus 2015 , Allright Reserve.