ถอดรหัสยีนเฉพาะบุคคล รักษามะเร็งลำไส้
ผ่านการตรวจ  K-RAS Mutation Test

ข่าว PR Focus

ข้อมูลโดย โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย)

 

            โรคมะเร็งลำไส้  ถือได้ว่าเป็นภัยคุกคามชีวิตประชากรโลกที่น่ากลัวอยู่ในอันดับต้นๆ  จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าผู้ป่วยเสียชีวิตจากมะเร็งชนิดนี้มากกว่า 677,000 คนต่อปี เป็นอันดับ 3        ของโรคมะเร็งทั้งหมด   และในประเทศไทยพบอัตราการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่   โดยเฉลี่ยต่อปี ประมาณ 5,000 ราย โดยกลไกของการเกิดเซลล์มะเร็งนั้น จะเกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์อย่างไร้การควบคุม จากปัจจัยกระตุ้น    ที่เรียกว่า Growth factor มาจับที่ตัวรับที่ชื่อว่า Epidermal Growth Factor Receptor (EGFR) ที่ผิวของเซลล์ และเกิดการส่งสัญญาณเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่สู่นิวเคลียส ทำให้เซลล์เกิดการแบ่งตัวอย่างต่อเนื่อง เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว การรักษาก็ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ในระยะเริ่มต้นส่วนมากจะผ่าตัด     เอาเนื้อร้ายออก แล้วตามด้วยการให้เคมีบำบัดหรือการฉายรังสี ซึ่งที่ผ่านมาปรากฏว่าผลการรักษาได้ผลดีบ้าง    ไม่ได้ผลบ้าง

           

เหตุที่เป็นเช่นนั้น   เนื่องจากการใช้ยารักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะลุกลามนั้นมีหลายแบบ  ก่อนที่แพทย์จะเลือกรักษาผู้ป่วยด้วยยาสูตรใด  แพทย์จะต้องประเมินผลการรักษาหรือผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าจากพื้นฐาน ข้อมูลด้านการตรวจต่างๆ  ที่อ้างอิงได้ โดยในปัจจุบันได้มีการพัฒนานวัตกรรมการรักษาเฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง  และช่วยหยุดการเติบโตของเนื้อ ร้ายได้ (Targeted therapy) โดยยาดังกล่าวมีเป้าหมายการออกฤทธิ์ที่ Epidermal Growth Factor Receptor (EGFR) ซึ่งยาชนิดนี้ จะแย่งปัจจัยกระตุ้น Growth factor เพื่อเข้าจับกับตัวรับ EGFR ที่ผิวของเซลล์ ทำให้ปิดกั้นสัญญานไม่ให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต ยาดังกล่าวเรียกว่า anti-EGFR monoclonal antibody therapy เช่น ยา Cetuxima  และยา Panitumumab อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาการใช้ยา  anti-EGFR monoclonal antibody therapy รักษาผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะได้ผลการรักษาดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของยีน K-RAS โดยพบว่าผู้ป่วยที่มียีน K-RAS ปกติ (wild type) จะมีการตอบสนองที่ดีต่อการรักษา ด้วยยาดังกล่าว   

 

K-RAS (Kirsten Rat Sarcoma Virus Oncogene) คือ ยีนที่สร้างโปรตีน ทำหน้าที่ควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์และเป็นยีนที่มีอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย ยีน K-RAS เป็นหนึ่งในวงจรปฏิกิริยาลูกโซ่ที่ส่งสัญญาณ จากผิวเซลล์สู่นิวเคลียส ภายหลังจากเซลล์ถูกกระตุ้นด้วย Growth factor ในเซลล์ปกติ   ยีน  K-RAS   ทำหน้าที่ควบคุมการเติบโตของเซลล์โดยปิดการ สร้างสัญญาณ ทำให้การแบ่งตัวของเซลล์เป็นไปอย่างจำกัด แต่หากยีน K-RAS เกิด mutation ไป จะส่งผลให้ไม่มีการหยุดสัญญาณดังกล่าวจึงเกิดการแบ่งตัวของเซลล์อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าไม่มีปัจจัยกระตุ้นจากภายนอกเซลล์แล้วก็ตาม

 

            สำหรับการ mutation ของยีน K-RAS สามารถพบได้ทั่วไปในมะเร็งหลายชนิด รวมทั้งมะเร็ง     ลำไส้ใหญ่ พบว่าประมาณ 35 – 45% ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะลุกลาม จะมียีน K-RAS          ชนิด mutation ดังนั้นทำให้ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา anti-EGFR Monoclonal antibody Therapy ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการตรวจ K-RAS เข้ามามีบทบาทสำคัญในการรักษาเฉพาะบุคคล เพื่อช่วยแพทย์ตัดสินใจว่า ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่แต่ละคน ควรรักษาด้วยยาในกลุ่ม anti-EGFR monoclonal antibody therapy หรือไม่ เพราะการใช้ยาบางชนิดเช่น Cetuximab และ Panitumumab จะไม่มีประสิทธิภาพในผู้ป่วยที่มียีน K-RAS ชนิด mutation เป็นต้น  ทั้งนี้ การที่สามารถเลือกผู้ป่วยที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการรักษาด้วยยาในกลุ่ม anti-EGFR monoclonal antibody therapy นอกจากจะเป็นการลดอาการที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นจากยาแล้ว ยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายการรักษามะเร็งได้อย่างมากเลยทีเดียว 

 

       การตรวจหาชนิดของยีน K-RAS ได้นำไปปฏิบัติ ตามแนวทางการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ของ NCCN          (the US National Comprehensive Cancer Network) ปี 2008  อีกทั้ง ยังเป็นข้อกำหนดในยุโรป  ซึ่งจะอนุญาตให้ใช้ยาในกลุ่ม anti-EGFR monoclonal antibody therapy เฉพาะในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะลุกลามที่มี    ยีน K-RAS ชนิด wild type ดังนั้นแพทย์ ต้องตรวจหาชนิดของยีน K-RAS ก่อนที่จะเริ่มทำการรักษา

สำหรับวิธีการตรวจหาชนิดของยีน K-RAS มักใช้ชิ้นเนื้อที่ลำไส้ใหญ่ส่งตรวจ ซึ่งวิธีการตรวจหา K-RAS mutation test มีหลายวิธี แต่วิธีที่ได้ผลดี และมีวิธีการสะดวกมากที่สุด คือ วิธี Polymerase Chain Reaction (PCR) เป็นการตรวจที่จำเพาะต่อตำแหน่งที่มีโอกาสเกิด mutation ซึ่งปัจจุบันมีชุดน้ำยาสำเร็จรูปซึ่งใช้หลักการ Real-time PCR ที่มีความไวและความแม่นยำในการทดสอบสูงและสะดวกในการใช้งาน ได้แก่ การใช้ TheraScreen ซึ่งเป็น Test ที่ได้รับรองมาตรฐานจาก CE-Mark  ในประเทศไทยมีการนำเข้ามาใช้งานโดย บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด  และมีห้องปฏิบัติการที่ทดสอบอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช

จะเห็นได้ว่า การถอดรหัสยีนเฉพาะบุคคลผ่านการตรวจ K-RAS mutation test มีประโยชน์มาก สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ เนื่องจากจะช่วยให้แพทย์ตัดสินใจเลือกแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุด เป็นการเพิ่มโอกาสในการรับการรักษาที่เหมาะสม รวมไปถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย สำหรับผู้ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจ K-RAS mutation test สามารถสอบถามได้ที่ โรงพยาบาลศิริราช โทรศัพท์ 02-4196605 หรือติดต่อ  คุณกุณฑิกา  ดำรงปราชญ์   โทร. 085-9116103  วันจันทร์ ศุกร์ ในช่วงเวลาทำการ

News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
         
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
         
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
         
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
         
News PRfocus
News PRfocus
     
 
บริษัท พีอาร์ โฟกัส จำกัด
เลขที่ 9/134 หมู่บ้านทองสถิตย์ 9 วิลล่า ถนนวัชรพล แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร 10220

Offfice : 02-654-7551-2 Fax : 02-654-7553 Email : prfocus@truemail.co.th

Copyright©prfocus 2015 , Allright Reserve.