แพทย์แนะนำตรวจยีน  K - RAS mutation ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะลุกลาม

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาและประหยัดค่าใช้จ่าย

ข่าว PR Focus

แพทย์แนะนำผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะลุกลาม ตรวจหายีน K-RAS mutation เพื่อให้ข้อมูลประกอบแนวทางการรักษาและการให้ยาเคมีบำบัดที่เหมาะสม ต่อผู้ป่วยเฉพาะบุคคล ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย รวมทั้งป้องกันการเกิดผลข้างเคียงจากยาที่ไม่ให้ผลการรักษาโดยไม่จำเป็น สามารถตรวจได้ที่โรงเรียนแพทย์ ซึ่งตรวจด้วยเทคนิค Real Time PCR: K-RAS Mutation Kit เป็นน้ำยาชุดแรกที่ผ่านการรับรองจาก CE Mark เพื่อใช้ในการตรวจหาชนิดของยีน K-RAS สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่จะได้รับยาในกลุ่ม anti-EGFR therapy

 

รองศาสตราจารย์นายแพทย์ นรินทร์   วรวุฒิ   อาจารย์ประจำหน่วยมะเร็งวิทยา  ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า การเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ทั่วโลกเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 4 ในผู้ชาย  และเป็นอันดับ 3 ในผู้หญิง ขณะเดียวกันในเอเชียมีอัตราการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มสูงขึ้น  โดยในประเทศไทยพบผู้ชายป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงเป็นอันดับที่ 3 และผู้หญิงเป็นอันดับ 5 เลยทีเดียว ซึ่งที่ผ่านมาแนวทางการรักษาจะใช้รูปแบบการรักษาที่เหมือนกัน ขณะที่ในปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้ามากขึ้น และค้นพบว่าประมาณ        35 – 45% ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่จะมียีน K-RAS ที่ผิดปกติ  โดยยีน K-RAS  ที่ผิดปกติจะยังส่งสัญญาณกระตุ้นการเติบโตของเซลล์อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะไม่มีปัจจัยกระตุ้นการเติบโตจากภายนอกเซลล์ก็ตาม  ซึ่งทำให้ไม่สามารถควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ได้ ดังนั้นจึงเป็นการกระตุ้นเนื้อร้ายให้เติบโตขึ้น  นอกจากนี้  ยังพบอีกว่าผู้ป่วยที่มียีน        K-RAS  ชนิดปกติ  จะตอบสนองการรักษาที่ดีจากการรักษาด้วยยา ในกลุ่ม anti-EGFR monoclonal therapies เช่นยา panitumumab และยา cetuximab ในขณะที่ผู้ป่วยที่มียีน K-RAS ชนิดผิดปกติ จะไม่ตอบสนองต่อการรักษาใดๆ    ด้วยยาใช้กลุ่มนี้ ดังนั้น การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่แบบเฉพาะบุคคลด้วยการตรวจชนิดของยีน K-RAS จึงเป็นการรักษาแนวใหม่ จึงอยากแนะนำให้ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้รับการตรวจชนิดยีน K-RAS ก่อนการรักษาด้วยยาในกลุ่มดังกล่าว เพื่อช่วยให้ข้อมูลแก่แพทย์ในการตัดสินใจรักษาได้อย่างถูกแนวทาง รวมถึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา  ในการรักษาให้กับผู้ป่วยอีกด้วย

 

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่พบว่ามีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในแถบเอเชีย โดยมีอัตราการเกิดสูงเป็นอันดับที่ 4 รองลงมาจากโรคมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม และมะเร็งมดลูก ในปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ด้วยการตรวจชนิดยีน K-RAS  ในประเทศไทย เริ่มมีบทบาทมากขึ้น และเป็นแนวทางการรักษาใหม่ที่ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคมในภาพรวม เนื่องจากเป็นการยืนยันได้ว่าผู้ป่วยคนใดตอบสนองต่อยาที่รักษาหรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ตัดสินใจให้การรักษาที่    ถูกแนวทาง และมีประสิทธิผล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับโอกาสในการรักษาที่มีแนวโน้มดีขึ้น ช่วยประหยัดเวลาและ ลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษามะเร็งได้  แพทย์กล่าวสรุปในที่สุด

News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
         
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
         
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
         
News PRfocus
News PRfocus
News PRfocus
     
 
บริษัท พีอาร์ โฟกัส จำกัด
เลขที่ 9/134 หมู่บ้านทองสถิตย์ 9 วิลล่า ถนนวัชรพล แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร 10220

Offfice : 02-654-7551-2 Fax : 02-654-7553 Email : prfocus@truemail.co.th

Copyright©prfocus 2015 , Allright Reserve.